วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

โครงการอาสายุวกาชาดช่วยเด็กกำพร้าผู้ยากไร้

กิจกรรมของเดือนมิถุนายนนี้
เราจะไปทำกิจกรรมกับน้องๆ ที่วัดโบสถ์วรดิษฐ์ จ.อ่างทอง ในวันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน 2555 ล้อหมุนเวลา 08.00 น. ที่สำนักงานยุวกาชาด สภากาชาดไทย ถ.อังรี ดูนังต์ ปทุมวัน กทม. น้องๆที่สนใจสามารถลงชื่อได้เลย หรือน้องๆคนใดที่ไม่สามารถร่วมกิจกรรมได้ แต่ประสงค์จะร่วมบริจาคได้นะคะ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ พี่หน่อย 08-4694-6222

อาสายุวกาชาดยุคใหม่

ยุวกาชาดยุคใหม่ อาสาสร้างสังคมให้แข็งแรง


เมื่อ เยาวชนมีหัวใจที่อยากช่วยเหลือผู้อื่น กาชาดจึงจัดกิจกรรมสำหรับเยาวชนเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ "อาสายุวกาชาดยุคใหม่...พึ่งพาได้" ด้วยการสร้างเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้มีหัวใจกาชาดเป็นคนดี รอบรู้สามารถพึ่งพาตนเองและช่วยเหลือผู้อื่นได้ เป็นฐานพลังที่เข้มแข็งซึ่งกาชาดยุคใหม่ อาสายุวกาชาด อายุ 15-25 ปี พร้อมเป็นที่พึ่งพาได้ด้านการปฐมพยาบาล

วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การทำงาน่รวมกับผู้อื่น

การทำงานที่ต้องการทำงานร่วมกับคนอื่นๆ หลายคน เราจะทำงานอย่างไรให้มีความสุข


1. เริ่มงานอย่างสดชื่น กระปรี้กระเปร่า ปลอดโปร่ง
ความสดชื่น กระปรี้กระเปร่า ปลอดโปร่ง จะช่วยให้สมองโล่ง ตื่นตัวที่จะคิดและทำงานทั้งง่ายและยากได้อย่างสดใส ไม่กลัว และมีมุมมองต่องานและปัญหาได้อย่างแหลมคมเสมอ

2.ปรับปรุงบุคลิกภาพ ให้เหมาะกับตำแหน่งและลักษณะงาน
ผู้ที่มีบุคลิกภาพดีจะเหมือนมีมนต์สะกดคนอื่นให้เชื่อมั่น เชื่อถือ เคารพ และชื่นชม นั่นย่อมช่วยให้การทำงานง่ายขึ้นกว่าเดิมอีกมาก

3. สนทนาแลกเปลี่ยนกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับงานอยู่เสมอ   อย่าฉายเดี่ยว งานที่ต้องทำเป็นหมู่คณะก็ต้องไปกันเป็นหมู่คณะ หากหมู่คณะสามารถประสานพลังกันได้ งานก็ง่าย ผลลัพธ์ก็ดี และการอยู่ร่วมกันก็มีความสุข การพูดคุยกันเสมอ คือการละลายกำแพงน้ำแข็งที่อาจก่อตัวขึ้นขวางกั้นความสัมพันธ์ที่ควรจะดีต่อ กันได้ตลอดเวลา

4. ศึกษาวิธีการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งกว่าเดิม  งาน คือความท้าทายที่ไม่หยุดนิ่ง มันจะมีตัวแปรหรือปัญหาทั้งเก่าและใหม่ให้เราต้องคอยแก้อยู่เสมอ อย่าใช้แค่ความเคยชินทำงาน แต่ต้องตื่นตัวที่จะเรียนรู้กลยุทธ์ใหม่ๆ เพื่อนำไปใช้พิชิตปัญหา งานจะสำเร็จได้ดั่งใจเสมอ และตัวคุณเองก็จะพัฒนาก้าวหน้าได้มากตามไปด้วย

5.ใส่ความกระตือรือร้นและพลังวังชาลงไปในงาน  งาน คือการสะสาง คือการลงมือ คือการแก้ไข ทั้งสามประการนี้ล้วนต้องการพลังกายพลังใจที่จะพิชิต ความกระตือรือร้นนั้นเหมือนน้ำมันเครื่อง ช่วยให้เครื่องยนต์ทำงานดี มีกำลังมาก และเป็นไปอย่างราบรื่น ฉะนั้น กระตือรือร้นให้มาก และมีกำลังวังชาเข้าไว้

6.หมั่นบันทึกคำเตือนเพื่อกันลืม สำหรับตนเอง  ความ จำของคนมีขีดจำกัด มันสามารถหลงลืมเรื่องหลายเรื่องได้ การบันทึกไว้ไม่เพียงช่วยกันลืม แต่จะกลายเป็นหลักฐานยืนยันที่มีน้ำหนักได้ในภายภาคหน้า

7.หมั่นหาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา  อย่า หยุดเรียนรู้ คนที่หยุดเรียนรู้คือคนที่ตายแล้ว เพราะโลกเปลี่ยนแปลงทุกวัน ความรู้ยังมีอีกสารพัดสารพันซึ่งเรายังเข้าไม่ถึง นั่นคือขุมทรัพย์ที่ควรจะค้นให้พบ

8.หากต้องการคลายเครียด ลองหาหนังสือธรรมะมาอ่าน  หนังสือธรรมะดีๆ ช่วยปัดฝุ่นใจ ช่วยให้ใจเบา ขจัดความหมองเศร้า และเติมความสงบ ซึ่งเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ให้เราทุกคนได้

9.อย่าจริงจังกับงานและชีวิตจนเคร่งเครียด  ชีวิต กับงานมีไว้เพื่อให้เราจัดการให้มันลงตัว ไม่ได้มีไว้ให้แบก ทำให้ดีที่สุดเท่าที่คุณทำได้ ไม่มีอะไรที่ดีไปกว่านั้น เพราะคุณใส่ใจที่จะทำมันอย่าง ‘ดีที่สุด’ แล้ว จึงไม่เหลืออะไรให้ต้องโกรธหรือโทษตัวเองอีก

10.แบ่งงานออกเป็นส่วนๆ แล้วลำดับความสำคัญของงาน  เพื่อ จะได้ไม่ต้องเสียเวลากับงานที่ไม่สำคัญ และเหลือเวลาเพียงน้อยนิดให้งานที่สำคัญมาก แยกมันออกจากกันซะ แล้วเลือกจัดการตามลำดับความสำคัญของมัน

11.กำหนดเวลาพักผ่อน เวลาทำงาน และเวลานั่งสมาธิให้สมดุล ชัดเจน การ พักผ่อนเป็นสิ่งที่สำคัญกับชีวิตของการทำงาน ถ้าเราพักผ่อนไม่เพียงพอ จะทำให้การทำงาน ลดประสิทธิภาพลง ดังนั้นเราจึงต้องกำหนดเวลาพักผ่อน เวลาทำงาน และเวลาอื่นๆ ให้เหมาะสมกับชีวิตของตนเอง จะช่วยสร้างพลังให้แก่คุณ เพื่อออกไปรบรากับภารกิจมากมายที่คอยท่าอยู่ในวันรุ่งขึ้น ทำทุกอย่างนี้ให้ดีที่สุด คุณจะพบว่าคุณมีพลัง มีไฟ และมีความสุขใจอย่างมหาศาล จะไม่กลัวการงานแม้หนักแสนหนัก เพราะคุณทั้งพักและผ่อนตัวเองได้ด้วยสามวิธีนี้
 

ทั้งหมดนี้ ถ้าคุณได้ปฎิบัติ ก็จะช่วยให้คุณทำงานอย่างมีความสุข

ยุวกาชาด

จากวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลของเจ้านาย ..จอมพลสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต อุป นายกผู้อำนวยการสภากาชาดสยาม ที่ทรงเล็งเห็นความสำคัญของ  การพัฒนาเยาวชนให้เป็นกำลังสำคัญส่งเสริม กิจการสภากาชาดไทย และประเทศชาติในอนาคต กิจการยุวกาชาดไทย จึงได้กำเนิดขึ้น เมื่อ 27 มกราคม พ.ศ. 2465 ตาม วัตถุประสงค์ที่ว่า “เพื่อปลูกฝังเยาวชนให้มีอุดมคติในศานติสุข  มีความรู้ความชำนาญในการรักษาอนามัยของตนเอง และส่งเสริมอนามัยของผู้อื่น  รู้จักบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ และรู้จักสร้างสัมพันธภาพอันดีต่อผู้อื่น”
 
 
       เมื่อแรกก่อตั้งเรียกว่า  อนุสภากาชาดสยาม  รับ เด็กหญิงชาย อายุระหว่าง 7-18 ปี เข้าเป็นสมาชิก และโดยที่กิจการนี้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการศึกษาของเยาวชน สภากาชาดสยาม  จึงฝากการดำเนินงานนี้ไว้กับกระทรวงศึกษาธิการ
ต่อมาปี พ.ศ.2485 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น อนุกาชาด
       ภายหลังได้พิจารณาเห็นว่ากิจการนี้ควรจะขยายไปถึงเยาวชนระดับอุดมศึกษา อายุระหว่าง       7 - 25 ปี จึงเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น  ยุวกาชาด  ตั้งแต่ปี พ.ศ.2521 เป็นต้นมา
       ปัจจุบันกิจการยุวกาชาด ดำเนินงานโดย 2 หน่วยงาน คือ สำนักงานยุวกาชาด สภากาชาดไทย  และ  สำนักการลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มุ่ง เน้นอบรมให้  มีความรู้ด้านอนามัย และการบำเพ็ญประโยชน์แก่เยาวชน ทั้งในระบบการศึกษา และการศึกษานอกระบบ รวมถึงเยาวชนกลุ่มพิเศษที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  กรมราชทัณฑ์   เป็นต้น โดยในปัจจุบัน ยุวกาชาด ได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
          1. สมาชิกยุวกาชาด หมายถึง เยาวชนชาย-หญิง อายุระหว่าง 7-18 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษา หรือเยาวชนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษา และเลือกเรียน
ยุวกาชาดตามหลักสูตรการเรียนการสอนของกระทรวงศึกษาธิการ
          2. อาสายุวกาชาด หมายถึง เยาวชนชาย-หญิง  อายุระหว่าง 15-25 ปี หรือเยาวชนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายถึงระดับอุดมศึกษา หรือเทียบเท่า ทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา ซึ่งมีความสนใจสมัครเป็น อาสายุวกาชาด โดยผ่านการอบรมหลักสูตรพื้นฐานยุวกาชาด และสังกัดชมรมอาสายุวกาชาด
          ทั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนได้ร่วมกิจกรรม ซึ่งสอดคล้องกับหลักการกาชาด 7 ประการ ได้แก่  มนุษยธรรม ความไม่ลำเอียง ความเป็นกลาง ความเป็นอิสระ บริการอาสาสมัคร ความเป็นเอกภาพ  ความเป็นสากล และวัตถุประสงค์ของยุวกาชาดไทย  คือ
 
      1.  มีอุดมคติในศานติสุข มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
      2.  มีความรู้ ความชำนาญในการรักษาอนามัยของตนเอง และของผู้อื่น ตลอดจนการพัฒนาตนเองทางร่างกาย จิตใจ คุณธรรม และธำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติ
      3.  มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการและอุดมการณ์กาชาด มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์
      4.  บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
      5.  มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
      6.  มีสัมพันธภาพและมิตรภาพที่ดีต่อบุคคลทั่วไป