วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ยุวกาชาด

จากวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลของเจ้านาย ..จอมพลสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต อุป นายกผู้อำนวยการสภากาชาดสยาม ที่ทรงเล็งเห็นความสำคัญของ  การพัฒนาเยาวชนให้เป็นกำลังสำคัญส่งเสริม กิจการสภากาชาดไทย และประเทศชาติในอนาคต กิจการยุวกาชาดไทย จึงได้กำเนิดขึ้น เมื่อ 27 มกราคม พ.ศ. 2465 ตาม วัตถุประสงค์ที่ว่า “เพื่อปลูกฝังเยาวชนให้มีอุดมคติในศานติสุข  มีความรู้ความชำนาญในการรักษาอนามัยของตนเอง และส่งเสริมอนามัยของผู้อื่น  รู้จักบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ และรู้จักสร้างสัมพันธภาพอันดีต่อผู้อื่น”
 
 
       เมื่อแรกก่อตั้งเรียกว่า  อนุสภากาชาดสยาม  รับ เด็กหญิงชาย อายุระหว่าง 7-18 ปี เข้าเป็นสมาชิก และโดยที่กิจการนี้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการศึกษาของเยาวชน สภากาชาดสยาม  จึงฝากการดำเนินงานนี้ไว้กับกระทรวงศึกษาธิการ
ต่อมาปี พ.ศ.2485 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น อนุกาชาด
       ภายหลังได้พิจารณาเห็นว่ากิจการนี้ควรจะขยายไปถึงเยาวชนระดับอุดมศึกษา อายุระหว่าง       7 - 25 ปี จึงเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น  ยุวกาชาด  ตั้งแต่ปี พ.ศ.2521 เป็นต้นมา
       ปัจจุบันกิจการยุวกาชาด ดำเนินงานโดย 2 หน่วยงาน คือ สำนักงานยุวกาชาด สภากาชาดไทย  และ  สำนักการลูกเสือ ยุวกาชาดและกิจการนักเรียน สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มุ่ง เน้นอบรมให้  มีความรู้ด้านอนามัย และการบำเพ็ญประโยชน์แก่เยาวชน ทั้งในระบบการศึกษา และการศึกษานอกระบบ รวมถึงเยาวชนกลุ่มพิเศษที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  กรมราชทัณฑ์   เป็นต้น โดยในปัจจุบัน ยุวกาชาด ได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
          1. สมาชิกยุวกาชาด หมายถึง เยาวชนชาย-หญิง อายุระหว่าง 7-18 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษา หรือเยาวชนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษา และเลือกเรียน
ยุวกาชาดตามหลักสูตรการเรียนการสอนของกระทรวงศึกษาธิการ
          2. อาสายุวกาชาด หมายถึง เยาวชนชาย-หญิง  อายุระหว่าง 15-25 ปี หรือเยาวชนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายถึงระดับอุดมศึกษา หรือเทียบเท่า ทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา ซึ่งมีความสนใจสมัครเป็น อาสายุวกาชาด โดยผ่านการอบรมหลักสูตรพื้นฐานยุวกาชาด และสังกัดชมรมอาสายุวกาชาด
          ทั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนได้ร่วมกิจกรรม ซึ่งสอดคล้องกับหลักการกาชาด 7 ประการ ได้แก่  มนุษยธรรม ความไม่ลำเอียง ความเป็นกลาง ความเป็นอิสระ บริการอาสาสมัคร ความเป็นเอกภาพ  ความเป็นสากล และวัตถุประสงค์ของยุวกาชาดไทย  คือ
 
      1.  มีอุดมคติในศานติสุข มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
      2.  มีความรู้ ความชำนาญในการรักษาอนามัยของตนเอง และของผู้อื่น ตลอดจนการพัฒนาตนเองทางร่างกาย จิตใจ คุณธรรม และธำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติ
      3.  มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการและอุดมการณ์กาชาด มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์
      4.  บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
      5.  มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
      6.  มีสัมพันธภาพและมิตรภาพที่ดีต่อบุคคลทั่วไป

1 ความคิดเห็น:

  1. Stainless Steel Magnets - titanium arts
    Ironing 메이피로출장마사지 the Stainless Steel 출장안마 Magnets ford escape titanium (4-Pack). Made in Germany. The Titanium Arts Stainless Steel Magnets are an alloy worrione made of steel in filmfileeurope.com stainless steel

    ตอบลบ